วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ปัญหาเขาพระวิหาร

ปัญหาเขาพระวิหาร


แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา


คดีปราสาทพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร เกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน


หลังจากกัมพูชาเป็นเอกราช ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ประเทศไทยได้เป็นประเทศแรกที่ได้ให้การรับรอง จนมีการตั้งสำนักผู้แทนทางการทูตขึ้นที่กรุงพนมเปญ และสัมพันธภาพก็เจริญมาด้วยดีโดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. 2501 เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงลอนดอน ซัมซารี ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ลงในนิตยสาร "กัมพูชาวันนี้ (le Combodge d'aujourd'hui) " มีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุบว่า "ไทยอ้างสิทธิเหนือวิหารนี้ โดยการใช้กำลังทหารเข้ายึดเอาพระวิหาร-อันเป็นการกระทำแบบฮิตเลอร์" จากนั้นมาวิทยุและหนังสือพิมพ์ของกัมพูชาก็ได้พูดถึงเรื่องสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหารนี้อยู่เรื่อย ๆ จนเกิดกระแส "ทวงเขาพระวิหารคืนจากไทย" แต่ยังไม่รุนแรงนัก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ปล้นสะดมทางชายแดนไทย-กัมพูชาเสมอ ๆ ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผสมเพื่อดำเนินการตรวจสอบเส้นเขตแดน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์เริ่มทรุดลงอย่างรวดเร็ว


วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประเทศจีนได้ประกาศรับรองกัมพูชา และพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุได้เสด็จไปเยือนปักกิ่ง ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในช่วงระวังการแทรกซึมจากคอมมิวนิสต์รัฐบาลไทยจึงประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดตราดจันทบุรีปราจีนบุรีสุรินทร์บุรีรัมย์ศรีสะเกษ และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เหตุการณ์จึงตึงเครียดหนักขึ้น
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 มีการเจรจาเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นที่กรุงเทพ แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ วันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน ประเทศไทยได้เดินขบวนประท้วงประเทศกัมพูชา และอ้างถึงกรรมสิทธิ์ของไทยเหนือเขาพระวิหาร นอกจากนี้ยังมีการโจมตีระหว่างสื่อไทยและกัมพูชากันอยู่เนื่อง ๆ จนกระทั่งวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 รัฐบาลกัมพูชาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย และความสัมพันธ์ก็เลวร้ายลงจนไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลโลก


คณะผู้พิพากษา ในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)

ผู้พิพากษา
ผู้พิพากษามีทั้งหมด 15 ท่าน คะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ตัดสินว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และ คะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ตัดสินว่า ไทยต้องคืนวัตถุสิ่งประติมากรรม แผ่นศิลา ส่วนปรักหักพังของอนุสาวรีย์รูปหินทราย เครื่องปั้นดินเผาโบราณและปราสาทหรือบริเวณเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา
·         โบดาน วินิอาร์สกิ (Bohdan Winiarski) : ชาวโปแลนด์ เป็นประธา พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         ริคาร์โด อาลฟาโร (Ricardo Alfaro) : ชาวปานามา เป็นรองประธาน พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         ลูซิโอ มอเรโน กินตานา (Lucio Moreno Quintana) : ชาวอาร์เจนตินา พิพากษาให้เป็นของไทย
·         เวลลิงตัน คู (Wellington Koo) : ชาวจีนไต้หวัน พิพากษาให้เป็นของไทย
·         เซอร์ เพอร์ซี สเปนเดอร์ (Percy Spender) : ชาวออสเตรเลีย พิพากษาให้เป็นของไทย
·         จูลส์ บาเดอวังต์ (Jules Basdevant) : ชาวฝรั่งเศส พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         อับดุล บาดาวี (Abdul Badawi) : ชาวอียิปต์ พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         เซอร์ เจรัลด์ ฟิตซ์มอริส (Sir Gerald Fitzmaurice) : ชาวอังกฤษ พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         วลาดิเมียร์ คอเรดสกี (Vladimir Koretsky) : ชาวรัสเซีย พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         โคะทะโระ ทะนะกะ (Kotaro Tanaka) : ชาวญี่ปุ่น พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         โจเซ่ บุสตามันเต อี ริเบโร (José Bustamante y Rivero) : ชาวเปรู พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         เกตาโน มอเรลลี (Gaetano Morelli) : ชาวอิตาลี พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
·         สปีโรปูลอส (Jean Spiropoulos) : ชาวกรีก งดออกเสียง (ป่วย)


ผู้แทนฝ่ายไทย

คณะผู้แทนของประเทศไทย
หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร: เอกอัครราชทูตประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นตัวแทน
ทนาย 
·         หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช: เนติบัณฑิต
·         อังรี โรแลง (Henry Rolin) : ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
·         เซอร์ แฟรงก์ ซอสคีส (Sir Frank Soskice) : อดีตแอททอร์นี เยเนราล ในคณะรัฐบาลอังกฤษ
·         เจมส์ เนวินส์ ไฮด์ (James Nevins Hyde) : เนติบัณฑิตแห่งรัฐนิวยอร์ก และทนายความประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา
·         มาร์เซล สลูสนี (Marcel Slusny) : อาจารย์มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
·         เจ.จี. เลอ เคนส์ (J. G. Le Quesne) : เนติบัณฑิต
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 
·         พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล: เจ้ากรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
·         สุข เปรุนาวิน: รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
·         จินดา ณ สงขลา: รองเลขาธิการ ก.พ.
·         พันโท พูนพล อาสนจินดา: อาจารย์โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
ที่ปรึกษาทางกฎหมาย 
·         จาพิกรณ์ เศรษฐบุตร: หัวหน้ากองกฎหมาย กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ
·         เดวิด เอส ดาวนส์ (David S. Downs) : ทนายความประจำศาลสูง ประเทศอังกฤษ

คณะผู้แทนของประเทศกัมพูชา
·         ฯพณฯ ตรวง กัง (Truong Cang) : สมาชิกสภาองคมนตรี เป็นตัวแทน
ทนาย 
·         ฯพณฯ อุค ชุม (Ouk Chhoim) : อัครราชทูตที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศฝรั่งเศส
·         ดีน แอจิสัน (Dean Acheson) : เนติบัณฑิตประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ สมัยประธาธิบดี ทรูแมน
·         โรเช่ ปินโต (Roger Pinto) : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
·         โปล เรอแตร์ (Paul Reuter) : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
ที่ปรึกษาทางกฎหมาย 
·         เบรซ์ เอม คลาเกตต์ (Brice M. Clagett) : เนติบัณฑิต ประจำศาลอุทธรณ์แห่งสหรัฐอเมริกา เขตโคลอมเบีย
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 
·         พันเอก งิน กาเรต (Ngin Karet) : อธิบดีกรมแผนที่ แห่งกองทัพกัมพูชา
เลขาธิการคณะผู้แทน 
·         ชาญ ยูรัน (Chan Youran)
รองเลขาธิการคณะผู้แทน 
·         เขม สงวน (Chem Snguon)
         วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลกโดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคตด้วย




ศาลโลก พิพากษาไทยแพ้คดีพระวิหาร

             มติเอกฉันท์ “ศาลโลก” พิพากษาไทยแพ้คดีพระวิหาร รับมีอำนาจวินิจฉัยคำพิพากษาปี 2505 ชี้พื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทอยู่ในเขตอธิปไตยกัมพูชาเช่นเดียวกับตัวปราสาทฯ สั่งไทยถอนกำลังทหาร-ตำรวจ ออกจากพื้นที่พิพาท เตือน ประเด็นพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ให้ 2 ประเทศร่วมประชุมหารือจัดการพื้นที่ร่วมกันหลังขึ้นเป็นมรดกโลก ท่ามกลาง “ยูเนสโก” เข้ามาควบคุมดูแล ด้าน “ทูตวีรชัย” เผยกัมพูชา ไม่ได้รับพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ตามคำขอในสำนวน ได้เพียงพื้นที่แคบ ๆ รอบปราสาทและศาลไม่ได้ชี้ขาดเรื่องเส้นเขตแดน ด้านนายกฯฮุนเซน ได้ทีไล่บี้ไทยถอนกำลังทหาร ขณะที่นายกฯปู จัดทีมเจรจา ยืนยันปกป้องอธิปไตยเต็มที่
            เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 พ.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ องค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 17 คน ได้อ่านคำพิพากษา กรณีกัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 โดยมีคณะของกัมพูชา และคณะฝ่ายไทยนำโดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม นายวีรชัย พลาศรัย ในฐานะตัวแทนไทยดำเนินการทางกฎหมายปราสาทพระวิหาร พร้อมทีมงานเข้าร่วมรับฟัง
            นายปีเตอร์ ทอมกา ประธานศาลโลก กล่าวความเป็นมาของคำตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2011 อ้างถึงมาตรา 60 และ 98 ของธรรมนูญศาล และ ร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร วันเดียวกันกัมพูชาอ้างมาตรา 96 และ 73 ของศาล ขอให้มีมาตรการชั่วคราวเพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา ต่อมาศาลมีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011

             โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพาษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเงื้อมผาเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ. 1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาพนมดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการเตรียมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา หลังจากที่กัมพูชาประกาศอิสรภาพ ปี 1953 ต่อมาประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจรจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ
                ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค. 1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่
                ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพากษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้วลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตามกัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุมมองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง